พระครูพิบูลธรรมมานุวัตร(ครูบาพรหม)

พระครูพิบูลธรรมมานุวัตร(ครูบาพรหม)

วันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วันมาฆบูชา


กิจกรรมปฏิบัติธรรมไหว้พระสวดมนต์ในช่วงเช้า

พระสงฆ์ สามเณร เเละพุทธสานิกชน ร่วมเวียนเทียน

ประกอบพิธีเวียนเทียนในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เนื่องในวันมาฆบูชา ๒๕๕๕

กิจกรรมประเพณีทำบุญสรงน้ำพระธาตุพรหมนิมิต ๖-๗ มีนาคม ๒๕๕๕

ขบวนเเห่ครัวตานรอบเขตเทศบาบแม่ต้าน

พุทธสานิกชนร่วมไหว้พระสวดมนต์

ประธานในพิธี ท่านนายอำเภอท่าสองยาง

พระภิกษุ สามเณร ร่วมสรงน้ำพระธาตุ

พุทธสานิกชนร่วมสรงน้ำพระธาตุ






วันเสาร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ประวัติวัดแม่ต้านเหนือ

                                            ประวัติวัดแม่ต้านเหนือ

         วัดแม่ต้านเหนือ ตั้งอยู่เลขที่ ๙๒ หมู่ที่ ๒ ตำบลแม่ต้าน อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ๘๑ ไร่ อาณาเขต ทิศเหนือยาว ๑๕๐ วา ติดต่อกับลำห้วยและที่นา ทิศใต้ยาว ๑๐๖ วา ติดต่อกับถนนสาธารณะ ทิศตะวันออกยาว ๓๓๒ วา ติดต่อกับถนนสาธารณะ ทิศตะวันตกยาว ๒๓๖ วา ติดต่อกับค่าย ต.ช.ด. โดยมี น.ส. ๓ ก เลขที่ ๗๔ เป็นหลักฐาน มีที่ธรณีสงฆ์จำนวน ๑ แปลง เนื้อที่ ๓ ไร่ ๒๖ ตารางวา ตาม น.ส. ๓ ก เลขที่ ๘๙
พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่เนินภูเขาเล็ก ๆ อาคารเสนาสนะต่าง ๆ มี อุโบสถกว้าง ๑๒.๘๐ เมตร ยาว ๒๘ เมตร สร้าง พ.ศ. ๒๕๑๔ โครงสร้างเป็นไม้พื้นคอนกรีต ศาลาการเปรียญกว้าง ๙๕๐ เมตร ยาว ๒๘.๕๐ เมตร สร้าง พ.ศ. ๒๕๒๓ เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ ๒ ชั้น หอฉันกว้าง ๘.๕๐ เมตร ยาว ๑๒ เมตร สร้างพ.ศ. ๒๕๒๑ เป็นอาคารไม้ยกพื้นสูง ๒ เมตร กุฎีสงฆ์ จำนวน ๑๖ หลัง หอระฆังสร้างด้วยไม้ สำหรับปูชนียวัตถุมี พระพุทธรูปไม้ขนุนแกะสลัก ๒ องค์ นายพรหม นางพิมพ์ สร้างไว้เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๐ พระพุทธรูปไม้ขนุนอีก ๒ องค์ สร้างโดยท้าวอินต๊ะและท้าวเขื่อนเพชร เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๒ พระประธานในวิหาร ๓ องค์ เป็นพระพุทธรูปปูนปั้น

         วัดแม่ต้านเหนือ สร้างขึ้นเป็นวัดนับตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. ๒๓๒๐ ที่จริงแล้ววัดนี้นับเป็นวัดที่เก่าแก่มีมาก่อน พ.ศ. ๒๓๒๐ แต่จะนานเท่าใดไม่ปรากฏหลักฐาน เดิมตั้งอยู่ที่บ้านลำร้อง หมู่ที่ ๒ เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองของชาวแม่ต้าน ต่อมาถึงประมาณปี พ.ศ. ๒๔๔๐ ได้ย้ายเสนาสนะมาจัดสร้างขึ้นใหม่ทางทิศตะวันตกของหมู่บ้าน มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ๒ ไร่ ครั้นถึงปี พ.ศ. ๒๔๖๖ สมัยที่พระปัญญาเป็นเจ้าอาวาส ได้ย้ายวัดมาตั้งอยู่ที่สี่แยกถนนราชดำเนินปัจจุบันที่นี้เป็นที่ธรณีสงฆ์ของวัดแม่ต้านเหนือ (ท่ารถปัจจุบัน) เพราะทางวัดได้ย้ายอีกครั้งหนึ่งเป็นครั้งสุดท้าย ได้ริเริ่มดำเนินการย้ายเสนาสนะในปี พ.ศ. ๒๔๙๖ ได้ย้ายมาสร้าง ณ ที่ตั้งปัจจุบัน ซึ่งอยู่ห่างจากที่ตั้งวัดเดิมประมาณ ๑ กิโลเมตร เนื่องจากที่ตั้งวัดเดิมเป็นที่ลุ่มถูกน้ำท่วมขังในฤดูฝนและคับแคบ ขยายไม่ได้ กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศย้ายวัดเมื่อวันที่ ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๙ ที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ๘๑ ไร่

        เกี่ยวกับนามวัด แต่เดิมนั้นเรียกกันหลายอย่างคือ “วัดครูบากิ่ง” “วัดครูบากั๋น” เรียกตามนามเจ้าอาวาส “วัดม่วงคำ” เพราะมีต้นมะม่วงคำขนาดใหญ่เก่าแก่อยู่ในวัด “วัดเหนือ” เพราะตั้งอยู่ตอนเหนือของหมู่บ้าน สำหรับนามที่ใช้อยู่ปัจจุบันว่า “วัดแม่ต้านเหนือ” เรียกตามชื่อของหมู่บ้าน

       วัดแม่ต้านเหนือ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๒ เขตวิสุงคามสีมากว้าง ๒๕ เมตร ยาว ๕๐ เมตร ทางวัดได้เปิดสอนพระปริยัติธรรม พ.ศ. ๒๕๑๔

       เจ้าอาวาสส่วนมากเป็นผู้รักษาการแทนมี ๒๐ รูป คือ รูปที่ ๑ พระครูบากิ่ง พ.ศ. ๒๓๕๕ – ๒๔๐๐ รูปที่ ๒ ครูบากั๋น พ.ศ. ๒๔๐๐ – ๒๔๔๐ รูปที่ ๓ ครูบาปัญญา พ.ศ. ๒๔๔๐ – ๒๔๘๐ รูปที่ ๔ พระแก้ว พ.ศ. ๒๔๘๐ – ๒๔๘๑ รูปที่ ๕ พระพรหม พ.ศ. ๒๔๘๑ – ๒๔๘๓ รูปที่ ๖ พระแก้ว พ.ศ. ๒๔๘๓ – ๒๔๙๑ รูปที่ ๗ พระทิพย์ พ.ศ. ๒๔๙๑ – ๒๔๙๓ รูปที่ ๘ พระอ้าย พ.ศ. ๒๔๙๓ – ๒๔๙๕ รูปที่ ๙ พระทองดี พ.ศ. ๒๔๙๕ – ๒๔๙๖ รูปที่ ๑๐ พระนนท์ พ.ศ. ๒๔๙๖ – ๒๔๙๙ รูปที่ ๑๑ พระจี๋ พ.ศ. ๒๔๙๙ – ๒๕๐๐ รูปที่ ๑๒ พระเขียว พ.ศ. ๒๕๐๐ – ๒๕๐๒ รูปที่ ๑๓ พระปัญญา พ.ศ. ๒๕๐๒ – ๒๕๐๖ รูปที่ ๑๔ พระบุญตัน พ.ศ. ๒๕๐๖ ๒๕๐๗ รูปที่ ๑๕ พระสำราญ พ.ศ. ๒๕๐๗ – ๒๕๐๘ รูปที่ ๑๖ พระแก้ว พ.ศ. ๒๕๐๘ – ๒๕๑๐ รูปที่ ๑๗ พระสีเทา พ.ศ. ๒๕๑๐ – ๒๕๑๒ รูปที่ ๑๘ พระบุญส่ง พ.ศ. ๒๕๑๒ – ๒๕๑๓ รูปที่ ๑๙ พระบุญมี พ.ศ. ๒๕๑๓ – ๒๕๑๔ รูปที่ ๒๐ พระครูพิบูลธรรมานุวัตร (พรหม พุทฺธภาโณ) ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๔ เป็นต้นมา (ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอแม่ระมาด – ท่าสองยาง)

                                     สถานภาพวัดแม่ต้านเหนือ

๑. เป็นวัดราษฎร์ คณะสงฆ์มหานิกาย จังหวัดตาก ภาค ๕
๒. ได้รับคัดเลือกเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง เมื่อปี ๒๕๓๑
๓. ได้รับคัดเลือกเป็นวัดพัฒนาตัวอย่างที่มีผลงานดีเด่น เมื่อปี ๒๕๓๔
๔. ได้รับคัดเลือกเป็นหน่วย อ.ป.ต. ดีเด่น เมื่อปี ๒๕๔๘
๕. ได้รับคัดเลือกเป็นหน่วยสงเคราะห์พุทธมามกะ เมื่อปี ๒๕๓๔
๖. ได้รับแต่งตั้งเป็นสำนักเรียนพระปริยัติธรรม เมื่อปี ๒๕๑๔